นำเรื่อง
น้องโต๊ะแล็บคงได้ยินผมพูดอยู่เสมอว่า “อย่าลืมพูดคุยกันในโซนนะครับ ว่า วันนี้ได้อะไรกันบ้าง” – ปกติผมจะคุมโซนละ 6 โต๊ะ เกือบตลอดทุก region ตลอดปี
ที่ผมพูดอย่างนั้นบ่อยๆ เพราะทุกครั้งที่ผมย้ายโต๊ะเพื่อ “ชวนคุย” ขณะทำแล็บ ผมจะพูดคุยในเรื่องที่แตกต่างกันไป บางเรื่องอาจนึกขึ้นได้ในตอนนั้น บางครั้งก็เป็นเรื่องที่น้องในโต๊ะถาม หรือบางครั้งก็เป็นเรื่องที่ไร้แก่นสาร ไม่เกี่ยวข้องกับแล็บที่ทำอยู่แต่ประการใด
เมื่อหัวข้อเรื่องมีอยู่หลากหลาย ทั้งความลุ่มลึกในเนื้อหาก็แตกต่างกันอย่างนั้นแล้ว จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่แต่ละโต๊ะจะได้ข้อมูลจากการ “ชวนคุย” อย่างเท่าเทียมกัน แม้ว่าท้ายที่สุดแล้วผมจะพยายามสรุปให้ในทุกครั้ง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเนื้อหาจะเท่ากับที่พูดคุยกันไปก่อนหน้านั้น หลายครั้งที่ผมพยายามรวบรัดหัวข้อ กระชับเนื้อหาให้เหลือเพียงแก่นสารที่สำคัญ (concept) สำหรับให้น้องๆ เก็บไปคิด/อ่าน/ทบทวนต่อยอดเท่านั้นเอง ไม่ได้พูดในทุกสิ่งทุกอย่างที่ “ชวนคุย”
ถ้าน้องฟังแต่เพียงเนื้อหาที่ผมสรุปให้ในท้ายชั่วโมง น้องจะได้ข้อมูลสำคัญเพียงส่วนหนึ่ง แต่ถ้าน้องได้ “พูดคุย” กับเพื่อนๆ ที่อยู่ในโซนเดียวกัน หรือแม้แต่กับเพื่อนคนอื่นๆ ที่อยู่ต่างโซน น้องจะได้ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น ได้มองเห็นแง่มุมที่แตกต่าง ตลอดจนได้เรียนรู้เทคนิคการเรียนที่หลากหลาย ซึ่งมากพอที่น้องจะคัดเลือก จดจำ แล้วนำมาใช้ได้อย่างที่ต้องการ
การเรียนแพทย์ไม่ใช่การนั่งอยู่กับโต๊ะ เปิดตำราแล้วท่องจำเนื้อหาอยู่เพียงคนเดียวโดยไม่ใส่ใจความเป็นไปของสรรพสิ่งที่อยู่รอบกาย การทำอย่างนั้นมีแต่จะทำให้ชีวิตอับเฉาและอับโชค; ตรงกันข้าม การเรียนแพทย์คือการช่วยเหลือ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรื่องราวต่างๆ ระหว่างกัน เพื่อเติมเต็มข้อบกพร่อง และเพิ่มพูนความรู้ให้แก่กันและกัน เพื่อให้เรา – นักเรียนแพทย์ – เรียนไปได้และจบไปได้พร้อมๆ กัน
==========
เข้าเรื่อง
5th Dissection of Head & Neck
- ทบทวน skull : bone, suture, foramen, landmark ที่เรียนไป
Skull – Cranium มี 2 ส่วน
- neurocranium: contains brain แยกได้อีก 2 ส่วน คือ
- calvaria ส่วน dome ของ skull
- basicranium ส่วนที่เหลือ
- viscerocranium ส่วนล่างลงมา เจริญจาก pharyngeal arches
…
Pterion (ปีก) ทัดดอกไม้ กะโหลกบริเวณที่บอบมาก แตกง่าย อันตรายถึงตาย
- จุดเชื่อมกระดูก 4 ชิ้น คือ
- frontal
- parietal
- tempotal
- greater wing of shenoid
- ภายในตรงกับ antr (frontal) br. of middle menningeal a.
- ถ้ากระดูกแตก อาจโดนหลอดเลือด
- เลือดออกในกะโหลก นอกชั้น dura mater เกิดเป็น epidural hematoma
…
SCALP 5 ชั้น
- Skin
- Connective tissue (dense)
- Aponeurosis (Galea aponeurotica; galea = helmet)
- Loose areolar CNT (danger area !!!)
- Pericranium (periosteum of skull)
Note
- เปิด Fig. 31 ใน Lab direction หัดวาด diagram of Sensory nerves & Arteries of Scalp ***
- Scalp มีหลอดเลือดหลายเส้น เวลามีแผลจะ bleed มาก ต้องห้ามเลือดให้เป็น
- Scalp เป็นตำแหน่งที่ br. of extl carotid a. มา anatomose กับ br. of intl carotid a.
…
Face
- muscles of face & scalp มาจาก 2nd pharyngeal arch
- nerve ประจำคือ facial n. (CN7) เป็น motor nerve
- artery หลัก คือ facial a.
- รับสัมผัสโดย trigeminal n. (CN5)
…
Muscles of facial expression
- m. of facial expression ส่วนใหญ่มี origin ที่ skull; insert ที่ skin
- ให้รู้ชื่อ รู้ตำแหน่ง ก็เพียงพอ; ไม่ค่อยถาม origin & insertion (ถ้าอ่านไม่ทันก็คุ้มที่จะทิ้ง)
- บางมัดต้องรู้เช่น
- levator labii superioris & levator anguli oris สัมพันธ์กับ infraorbital foramen
- orbicularis oculiมี 3 parts
- orbital
- palpebral
- lacrimal
- levator labii superioris alaque nasi ชื่อยาวดี เอาไว้ขู่เด็ก ม.ปลาย
- ขออวยพรให้สามารถศึกษาด้วยตนเองได้
…
Facial a.
- แขนงของ extl carotid a.
- เริ่มต้นเหนือ tip of hyoid bone; เหนือ origin of lingual a.
- สิ้นสุดที่ medial angle of eye
- แขนงบนใบหน้า 4 แขนงหลัก
- infr labial a. (labium, labrum = ริมฝีปาก; labia majora = ริมฝีปากใหญ่)
- supr labial a.
- latl nasal a.
- angular a.
- ยังมีแขนงที่คออีก 4 แขนง เก็บไว้เรียนทีหลัง
…
Facial n.
- Region นี้ “ต้อง” อธิบายทางเดิน n. ตั้งแต่พ้นจาก stylomastoid foramen ได้จนสุดท้ายทุกแขนง
- ออกจาก stylomastoid foramen ทอด anterolaterally ระหว่าง postr belly of digastric & styloid process
- แตกแขนง 2 แขนง ขึ้นบน 1 แขนง ลงล่าง 1 แขนง
- postr auricular n. (ทอดขึ้นบน) – อย่าสับสนกับ great auricular n.
- descending digastric br.
- ทอดเข้าไปในเนื้อ parotid gland (แค่ผ่าน ไม่เลี้ยง gland) แตกเป็น 5 แขนงหลัก
- temporal br.
- zygomatic br.
- buccal br.
- marginal mandibular br.
- cervical br.
Note
- สมัยผมเรียนชั้นปี 2 อ.อลงกรณ์ (พี่บ๊วบ) ศิริราช รุ่น 108 แนะนำให้ท่องว่า “เธอ สวย บ๊วบ มา ขอ”
- เราอาจเปลี่ยนชื่อ “บ๊วบ” ได้ตามความพอใจ เช่น บอนด์, บิว, บูม, บลาๆๆ
…
Trigeminal n.
- สำหรับแล็บนี้ ให้รู้เฉพาะ general sensory componentก่อน
- general sensation คือ สัมผัสทั่วไป เช่น ร้อน เย็น เจ็บปวด ลูบไล้ (เสียว…) แรงกด แรงสั่นสะเทือน …
- แบ่งเป็น 3 divisionsตามบริเวณที่รับสัมผัส
- 1. ophthalmic div.: V1 ผ่าน supraorbital fissure(ophthal = ตา) มี 5 แขนงย่อย
- supratrochlear n.
- supraorbital n.
- lacrimal n.
- infratrochlear n.
- extl nasal n.
- 2. maxillary div.: V2 ผ่าน foramen rotundumมี 3 แขนงย่อย
- infraorbital n.
- zygomaticotemporal n
- zygomaticofacial n.
- 3. mandibular div.: V3 ผ่าน foramen ovaleมี 3 แขนงย่อย
- auriculotemporal n. (n. เส้นเล็กๆ อยู่หน้าหู ชี้ขึ้นบน – ห้ามดึง !!!)***
- buccal n. (อย่าสับสนกับ buccal br. of facial n.)
- mental n.
- 1. ophthalmic div.: V1 ผ่าน supraorbital fissure(ophthal = ตา) มี 5 แขนงย่อย
Note
- หัดวาด diagram แสดงพื้นที่รับสัมผัสบริเวณใบหน้า ด้านข้าง (latl view) ***
- ถ้าอยากเมพ ให้วาด n. เติมลงไปด้วย แล้ว iden ให้ครบทุกเส้น
- อธิบายทางเดินของ mandibular div ให้ได้ เพราะออกสบับกันกับ facial n. อยู่บ่อยๆ ***
…
Organs : จมูก, หู ให้ศึกษา cartilages และเรียกชื่อให้ถูกต้อง
- เปิด Fig. 23 – 26 ใน Lab direction แล้วหัดวาด diagram
…
Relative structures : โครงสร้างที่สัมพันธ์กันในแล็บนี้
- parotid duct พาดทับ masseter m. ทิ่มเข้า buccinator
- ปลายท่อเปิดที่กระพุ้งแก้ม ตำแหน่งตรงกับฟัน upper 2nd molar
- parotid duct ทอดตัวไปกับ tranverse facial a. & lower zygomatic br. of CN7
- ตำแหน่งที่ duct ทิ่ม buccinator จะมี buccal n. of CN5 มาสัมพันธ์
- buccal n. of CN5วางตัว deep ต่อ masseter แต่ superficial กว่า buccinator
- nerve โผล่พ้นขอบหน้าของ masseter ใกล้บริเวณ parotid duct ทิ่ม
- facial a.วาดพาดขอบล่างของ mandible ที่ขอบหน้าของ masseter
- คลำชีพจรได้; facial pulse
- auriculotemporal n.พาดหน้าหู ชี้ขึ้นบน (ห้ามดึง ย้ำ ห้ามดึง !!!)
- วางตัวพาดทับ/อยู่หลังต่อ superficial temporal a.
- trigeminal n.ไม่รับสัมผัสที่ mandibular angle
- great auricular n. (C2,3) รับสัมผัสที่ mandibular angle
- mental foramenมี mental n. พุ่งออกมา
- อยู่ที่ body of mandible ตรงกับ lower 2nd premolar
==========
ท้ายเรื่อง
การเรียน/การทำงานใดๆ คนเดียวเพียงเพื่อจะได้รับคำชื่นชมในฐานะ “เอกบุรุษ” อาจเป็นสิ่งที่หลายคนปรารถนา โดยเฉพาะการเรียนที่คุ้นเคยกันมาในสมัยประถมหรือมัธยม แต่หลักการนี้ใช้ไม่ได้ในการเรียนระดับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพราะเนื้อหาที่มากเกินกว่าจะจดจำเองได้ทั้งหมด และทั้งยังมีแง่มุมที่แตกต่างกันจนเกินกว่าที่จินตพลานุภาพของบุคคลหนึ่งจะมองเห็นได้ครบถ้วน การเรียนเพียงคนเดียวจึงเป็นสิ่งที่ควรจะโยนทิ้งลงแม่น้ำเจ้าพระยาไปเสียแต่เมื่อข้ามฟาก แล้วเปลี่ยนมา “ช่วยกันเรียน” แทน
ยิ่งเราได้พูดคุย ถกเถียง (อย่างมีสาระในเชิงวิชาการ) ความรู้ของเราจะยิ่งต่อยอดเพิ่มพูน เราจะมองเห็นในสิ่งที่เราไม่เคยอ่าน เราจะได้ยินในเรื่องที่เราไม่เคยฟัง เราจะเข้าใจในเนื้อหาที่เราไม่เคยรับรู้มาก่อน และท้ายที่สุด เราจะได้สัมผัสถึงมิตรภาพอย่างที่เราอาจไม่เคยคิดว่ามันจะมีอยู่จริงบนโลกใบนี้
“อย่าลืมพูดคุยกันในโซนนะครับ ว่า วันนี้ได้อะไรกันบ้าง”
รัตนาดิศร, 2555
http://raynartz.wordpress.com <– ดองโคตรๆ
https://sianatomy.wordpress.com
==========
Hail! Hail! The Gang’s All Here,
What the Hell Do We Care!
รับน้องข้ามฟาก ศิริราช รุ่น 122